อ.เขียน ปิละกพันธ์ุ
นายเขียน ปิละกพันธ์ุ เกิดวันอังคาร เดือน 10 ปีกุน พ.ศ.2466 ที่บ้านชุมพล หมู่ที่ 1 ต.ชุมพล อ.สทิงพระจ.สงขลา บุตรของนายสอน นางไหม ปิละกพันธ์ุมีพื่น้องร่วมสายโลหิต 3 คน อดีตบิดารับราชการเป็นขุนนางอยู่ในวังของพระยาอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี มีความรู้เป็นหมอพื้นบ้าน
พ.ศ. 2472 ได้เข้าศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมที่วัดสทิงพระ จากพระอาจารย์สังข์ อิสโร ซื่งเป็นพระญาติในสมัยนั้น และได้ฝากเรียนจนจบ ป.4 จากโรงเรียนสทิงพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา จนสามารถอ่านเขียนภาษาขอมได้มาจนถึงทุกวันนี้
พ.ศ. 2480 ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบิดาจนท่านเสียชีวิต
พ.ศ. 2492 ได้ไปศึกษาที่สำนักพระอาจารย์เจิม อะชิโต วัดหอยกัน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ใช้เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยคอยเป็นอุปถากรับใช้อาจารย์เมื่อมีผู้ป่วยมารับการรักษา
พ.ศ. 2496 แต่งงาน อาชีพทำนาและเป็นหมอพื้นบ้าน เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบิดา ที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2498 ย้ายภูมิลำเนา ไปอยู่อำเภอป่าบอน จ.พัทลุง
พ.ศ. 2513 ย้ายไปอยู่ อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ประกอบอาชีพตัดยางและแพทย์แผนไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงปัจจุบัน
ผลงานช่วยเหลือสังคม
พ.ศ. 2535 เป็นที่ปรึกษาสมาคมเภสัชและอายุรเวชแผนโบราณสงขลา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษประเภทเวชกรรม
พ.ศ. 2536 เป็นที่ปรึกษาด้านเวชกรรมของสมาพันธ์แพทย์แผนไทยภาคใต้
พ.ศ. 2540 เป็นที่ปรึกษาอาจารย์อาวุโส สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดสตูล
พ.ศ. 2543 เป็นประธานหมอพื้นบ้านของโรงพยาบาลอำเภอทุ่งหว้า จ.สตูล
พ.ศ. 2543 เป็นผู้นำท้องถิ่น ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
พ.ศ. 2543 ได้รับการยกย่องเป็นบัณฑิตหมู่บ้าน
พ.ศ. 2544 ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานผู้สูงอายุสถานีอนามัยนาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
การได้รับการเชิดชูเกียรติด้านการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. 2527 ได้รับเกียรติบัตรวิทยากรระดับผู้นำเผยแพร่สมุนไพรจากสมาคมเภสัชและอายุรเวชแผนโบราณสงขลา
พ.ศ.2545 ได้รับเกียรติบัตรแพทย์แผนไทยดีเด่น ประเภทบำบัดรักษาโรค จากสมาพันธ์แพทย์แผนไทยภาคใต้
พ.ศ.2546 ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดสุขภาพผู้สูงอายุชายจากอำเภอทุ่งหว้า จ.สตูล
พ.ศ.2547 ได้รับเกียรติบัตรผู้สูงอายุดีเด่นด้านทันตสุขภาพระดับจังหวัดสตูล
พ.ศ.2547 เป็นกรรมการที่ปรึกษาการจัดทำสารานุกรมสมุนไพรภาคใต้ ของสมาพันธ์แพทย์แผนไทยภาคใต้
พ.ศ.2547 เป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมาพันธ์แพทย์แผนไทยภาคใต้ ด้านบำบัดโรค
พ.ศ.2548 กรรมการวิชาชีพสาขาแพทย์แผนไทยได้ประเมินความรู้ความสามารถ ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ สาขาแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย และมีสิทธิประกอบโรคศิลป์ตามสาขาประเภทดังกล่าวได้ภายใต้บังคับแห่งกฏหมาย
นับว่าเป็นประวัติศาสตร์คนที่ 1 ในจำนวน 5 คน ครั้งแรกของหมอพื้นบ้านไทย